ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก จึงต้องมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดระเบียบและ
การปฏิบัติ โดยมีพันธกรณีภายใต้ความตกลง และข้อตัดสินใจขององค์การการค้าโลก มีทั้งด้านสินค้า
และบริการ โรงพิมพ์ ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้ามากกว่า 4 ฉบับ ซึ่งได้มีการปฏิบัติ
ตามมาบ้างแล้วตั้งแต่ปี 1995 บางข้อตกลงมีผลใช้ปี 2000 และบางข้อตกลงต้องมีการเจรจากันต่อไป
เช่น ความตกลงด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้าบริการ ดังตัวอย่างที่สำคัญที่ไทยต้องดำเนินการ เช่น
- สินค้าเกษตร (ไม่เรวมประมงและผลิตภัณฑ์) จะต้องมีการลดภาษีสินค้า 740 รายการ
ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าแต่ให้มีการนำเข้าโดยใช้ระบบโควตาภาษีสินค้า ลดการอุดหนุนการผลิต และ
ไม่ให้การอุดหนุนส่งออก
- สินค้าอุตสาหกรรม 3,153 รายการ ที่ต้องลดภาษี
- สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ให้ลดภาษี
- ยกเลิกการกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศที่ผู้ผลิตต้องใช้ในการผลิต
สินค้า (Local Content Requirements) ซึ่งมีผลใช้แล้วตั้งแต่ปี 1999 ได้แก่ การผลิตเครื่องยนต์
การประกอบรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ผลิตภัณฑ์นมและน้ำนม
- กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ในหมู่สมาชิกยังไม่มีการกำหนด
กฎเกณฑ์ แหล่งกำเนิดสินค้าที่เป็นรูปแบบเดียวกัน
- การค้าบริการ ไทยได้ผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการด้านต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก WTO โดยให้
อำนาจต่างชาติสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยได้ แต่ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49
การเจรจาการค้าจะเปิดในรอบใหม่อีก ซึ่งเจรจากันเรื่องเกษตร ที่จะให้มีการเปิดตลาด
มากขึ้น ทั้งลดภาษีและลดการอุดหนุนส่งออก การค้าและบริการจะเปิดเสรีมากขึ้น นอกจากนี้ก็มี
การคุ้มกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา การค้าด้านนโยบายการแข่งขัน การค้าการลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ เป็นต้น